วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โนราห์





              โนราห์เป็นศิลปะการแสดงของชาวภาคใต้ที่มีตั้งแต่บรรพบุรุษ และมีการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ดิฉันได้รับชมโนราห์ตั้งแต่เด็กๆ มีความชอบ และสนุก เพราะมีท่ารำอ่อนช้อย มีการแต่งกายที่สวยงามมาก  อยากแนะนำนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในภาตใต้ได้มารับชมและสัมผัสการแสดงที่หาได้ยากอย่างโนราห์ จึงได้ศึกษาเรื่องราวของการแสดงนี้และได้คุณค่าของการแสดง ดังนี้
                

                     คุณค่าของความเป็นไทย

             นักท่องเที่ยวได้เห็นถึงความเป็นไทยมากขึ้น เพราะโนราห์เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ที่น่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งนั้นคือ มโนราห์ หรือโนราห์ ซึ่งเป็นศิลปะการร้องและการรำชั้นสูง ทั้งนี้มีคนกล่าวกันว่าต้นกำเนิดนั้น คือที่อินเดียกว่า สี่ร้อยที่ผ่านมา ความเป็นศิลปะชั้นสูงของมโนราห์นั้นสามารถดูได้จาก งานครอบครูโขนละครและดนดรีไทย ที่เป็นมรดกของชาติและเป็นที่ยอมรับว่างดงามและสูงส่ง อีกทั้งมโนราห์ยังเป็นศาสตร์ที่รวบรวมเอาศิลป์แขนงอื่นมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น งานช่างไม้ ช่างก่อสร้าง ช่างปักเย็บ เป็นต้น

                      คุณค่าความบันเทิงแบบไทย

              เนื่องจากการแสดงโนราห์ส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องตีให้เป็นจังหวะ เช่น  โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่  และยังมีท่ารำทีมีความอ่อนช้อยสวยงาม  ที่สำคัญยังมีบทร้องที่ใช้ประกอบท่ารำของโนราห์ เป็นบทที่แต่งขึ้นมาเพื่อขับประกอบท่ารำท่าต่าง ๆเริ่มต้นด้วยการ " ออ " ก่อนขับบทการออ.... นั้นเป็นการกล่าวเพื่อให้เครื่องดนตรีหยุด หรือที่โนราเรียกว่า " ลงเครื่อง " ในการว่าออ ...นั้นแต่เดิมมีคาถาประกอบ เช่นคาถาว่า ออ อา ออ แอ ออ เมตตา อาเอ็นดู....ซึ่งถือกันว่าถ้าว่าคาถาประกอบการว่าออ จะทำให้ผู้ชมติดอกติดใจในเสียงขับบท






ประวัติของโนราห์

                      โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น


 





คลิปการแสดงรำโนราห์


 


เครื่องแต่งกายโนรา


เครื่องแต่งกายของโนราประกอบด้วยสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้
๑. เทริด เป็นเครื่องประดับศรีษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้)ทำเป็นรูปมงกุฏอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ

              
 ๒. เครื่องรูปปัด เครื่องรูปปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้นสำคัญ ๕ ชิ้น คือ
บ่า สำหรับสวมทับบนบ่าซ้าย-ขวา รวม ๒ ชิ้น

ปิ้งคอ สำหรับสวมห้อยคอหน้า-หลังคล้ายกรองคอหน้า-หลัง รวม ๒ ชิ้น




พานอก ร้อยลูกปัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบตัวตรงระดับอก บางถิ่นเรียกว่า"พานโครง"บางถิ่นเรียกว่า"รอบอก"
   
เครื่องลูกปัดดังกล่าวนี้ใช้เหมือนกันทั้งตัวยืนเครื่องและตัวนาง(รำ) แต่มีช่วงหนึ่งที่คณะชาตรีในมณฑนครศรีธรรมราชใช้อินทรธนู ซับทรวง (ทับทรวง) ปีกเหน่ง แทนเครื่องลูกปัดสำหรับตัวยืนเครื่อง

๓.  ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนกนางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง สวมติดกับสังวาลอยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้านซ้ายและขวา คล้ายตาบทิศของละคร


๔.  ซับทรวง หรือ ทับทรวง หรือ ตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนมเปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ใช้ซับทรวง



๕. ปีก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หาง หรือ หางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควายหรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก ๑ คู่ ซ้าย-ขวาประกอบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกันไว้มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทั้งข้างซ้ายและขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี


๖.  ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า "หางหงส์"(แต่ชาวบ้านส่วนมากเรียกว่า หางหงส์) การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจมกระเบน
๗.หน้าเพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ว่า คือสนับเพลาสำหรับสวมแล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อยทับหรือร้อยทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิง รักร้อย





๘.  ผ้าห้อย คือ ผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครงแต่อาจมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งผ้าบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้า



๙.  หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่หรือนายโรงมักทำด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัดทาบเป็นลวดลาย ที่ทำเป็นผ้า ๓ แถบคล้ายชายไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรำ อาจใช้ผ้าพื้นสีต่างๆ สำหรับคาดห้อยเช่นเดียวกับชายไหว
๑๐.กำไลต้นแขนและปลายแขน กำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น   


๑๑.  กำไล กำไลของโนรามักทำด้วยทองเหลือง ทำเป็นวงแหวน ใช้สวมมือและเท้าข้างละหลายๆ วง เช่น แขนแต่ละข้างอาจสวม ๕-๑๐ วงซ้อนกัน เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น



๑๒.  เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงามคล้ายเล็บกินนร กินรี ทำด้วยทองเหลืองหรือเงิน อาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูกปัดร้อยสอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ ๔ นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)

   

เครื่องแต่งกายโนราตามรายการที่ (๑) ถึง (๑๒) รวมเรียกว่า "เครื่องใหญ่" เป็นเครื่องแต่งกายของตัวยืนเครื่องหรือโนราใหญ่ ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า "เครื่องนาง" จะตัดเครื่องแต่งกายออก ๔ อย่างคือ เทริด (ใช้ผ้าแถบสีสดหรือผ้าเช็ดหน้าคาดรัดแทน) กำไลต้นแขน ซับทรวง และปีกนกแอ่น (ปัจจุบันนางรำทุกคนนิยมสวมเทริดด้วย)

๑๓.  หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูกงุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็นฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจลี่ยมฟัน (มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ดหรือห่านสีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก




๑๔.  หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็นหน้าผู้หญิง มักทาสีขาวหรือสีเนื้อ


 

เครื่องดนตรีโนรา









เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่อง ตีให้จังหวะ

๑. ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งใหมอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)




๒. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) ๑ ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ



๓. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง ๑ เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี ๗ รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง ๒๑ เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด



๔. โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า
"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า






๕. ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี ๒ อัน เรียกว่า ๑ คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย







ท่ารำ



                    ท่ารำของโนราที่เป็นท่าแบบ หรือท่าหลัก สืบได้ไม่ลงรอยกัน เพราะต่าง ครูต่างตำรากันและเนื่องจากสมัยก่อนผู้ประดิษฐ์ ท่าเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ท่ารำของโนราที่ ต่างสายตระกูลและต่างสมัยกันจึงผิดแปลกแตก ต่างกัน แม้บางท่าที่ชื่ออย่างเดียวกัน บาง ครูบางตำราก็กำหนดท่ารำต่างกันไป ท่า รำที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมได้จากคำชี้แจงของนายจง ภักดี (ขาว) ผู้เคยเล่นละดรชาตรีอยู่ ที่เมืองตรังในบทพระนิพนธ์ตำนานละครอิเหนา ว่ามี ๑๒ ท่าดังนี้






๑. ท่าแม่ลาย หรือท่า แม่ลายกนก
๒.ท่าผาลา (ผา หลา


๓. ท่าลงฉาก

  ๔. ท่าจับ ระบำ (ไม่มีรูป)
๕. ท่ากินนร หรือกินนรรำ (ท่าขี้หนอน)
  ๖. ท่าฉากน้อย


๗. ท่าราหูจับจันทร์ หรือท่าเขาควาย


๘. ท่า บัวแย้ม

๙. ท่าบัวบาน
๑๐. ท่าบัวคลี่


๑๑. ท่าบัวตูม

๑๒. ท่าแมงมุมชักใย


โอกาสที่แสดง


       การจัดให้มีโนราแสดงเพื่อความบันเทิง นั้น มักมีในงานวัดเพื่อหารายได้บำรุง ศาสนา งานประเพณีสำคัญตามนักขัตฤกษ์ งานพิธีเฉลิมฉลอง ต่าง ที่ชาวบ้าน วัด รัฐ หรือ หน่วยราชการ จัดขึ้นในโอกาสพิเศษ น้อยครั้งที่แสดงในงาน ของเอกชน เว้นแต่เอกชนนั้นจะเป็นคน มีฐานะดี หรือมีบารมีและบริวารมาก หรือเป็น การจัดแสดงเพื่อแก้บน และแสดงในพิธี " ลงครู " ของครอบครัวที่มีเทือกเถาเหล่ากอเป็นโนราโดยตรง เพราะเชื่อ ว่าถ้ารับโนรามารำถวายวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่เป็นโนราจะทำให้ครอบครัวเจริญก้าวหน้า ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่กระทำจะให้โทษ นานาประการ
        ในปัจจุบันมีบ้างที่นักจัดราย การบันเทิง จัดแสดงโนราเพื่อหากำไรจากการเก็บ ค่าผ่านประตู แต่มักมีมหรสพอย่างอื่น ด้วย




ขอขอบคุณที่มา: